วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559

สรรพคุณของกระเทียม


  1. ประโยชน์ของกระเทียม ช่วยบำรุงผิวหนังให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
  2. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย
  3. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
  4. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
  5. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด
  6. ประโยชน์กระเทียม ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
  7. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ อาการมึนงง ปวดศีรษะ หูอื้อ
  8. ช่วยในเรื่องระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะมีสารที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง
  9. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต
  10. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
  11. ช่วยต่อต้านเนื้องอก
  12. กระเทียม ประโยชน์ช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า มีสีเทา
  13. ช่วยป้องกันการเกิดและรักษาโรคโลหิตจาง
  14. ช่วยในการขับพิษ และสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
  15. กระเทียมสรรพคุณช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
  16. สารสกัดน้ำมันกระเทียม มีสารที่มีส่วนช่วยในการละลายลิ่มเลือด
  17. ช่วยป้องกันการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
  18. มีสารต่อต้านไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตก
  19. ช่วยบรรเทาอาการไอ น้ำมูกไหล ป้องกันหวัด
  20. ช่วยรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
  21. ช่วยรักษาอาการเยื่อบุจมูกอักเสบ และไซนัส
  22. ช่วยรักษาโรคไอกรน
  23. สรรพคุณ กระเทียมช่วยแก้อาการหอบ หืด
  24. ช่วยรักษาโรคหลอดลม
  25. ช่วยระงับกลิ่นปาก
  26. ช่วยในการขับเหงื่อ
  27. สรรพคุณของกระเทียมช่วยในการขับเสมหะ
  28. ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ด้วยสารที่ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ
  29. มีสรรพคุณช่วยในการขับลม
  30. ช่วยรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  31. ช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  32. ช่วยรักษาโรคบิด
  33. กระเทียบ สรรพคุณช่วยในการขับปัสสาวะ
  34. ช่วยในการขับพยาธิได้หลายชนิด เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  35. ช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้
  36. ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
  37. ช่วยฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ รวมถึงเชื้อราตามหนังศีรษะและบริเวณเล็บ
  38. ช่วยยับยั้งเชื้อต่าง ๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง คออักเสบ เชื้อปอดบวม เชื้อวัณโรค เป็นต้น
  39. ช่วยกำจัดพิษจากสารตะกั่ว
  40. ช่วยรักษากลาก เกลื้อน
  41. ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
  42. บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย
  43. ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณที่นวดยาได้ดีมากขึ้นนั่นเอง
  44. มีสารต้านอาการไขข้ออักเสบ โรคข้อรูมาติสม์
  45. กระเทียมมีกลิ่นฉุนจึงสามารถช่วยไล่ยุงได้เป็นอย่างดี
  46. ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย เพิ่มความยากอาหาร

ที่มา  http://frynn.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1/

สรรพคุณของมะนาว



  1. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ
  2. ช่วยแก้อาเจียน เป็นลมวิงเวียนศีรษะ เมาเหล้าได้
  3. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงและต่ำ
  4. รู้หรือไม่ว่ามะนาวก็เป็นยาอายุวัฒนะ และช่วยในการเจริญอาหารได้ด้วย
  5. แก้อาการวิงเวียนหลังคลอดบุตร
  6. แก้อาการลมเงียบ ด้วยการเอาใบมะนาวมาต้มกินกับยาหอม
  7. แก้โรคตาแดง
  8. ใช้เป็นยาแก้ไข้ก็ได้เหมือกัน ด้วยการนำใบมาหั่นเป็นฝอย ๆ แล้วนำมาชงในน้ำเดือด ดื่มเป็นน้ำชาหรือใช้อมกลั้วคอเพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรค
  9. ใช้ในการแก้ไข้ทับระดู ด้วยการเอาใบมะนาวประมาณ 100 ใบมาต้มกิน
  10. สามารถช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด หรือเลือดออกตามไรฟันได้ เพราะในมะนาวมีวิตามินซีสูงมาก
  11. มะนาวช่วยในการขับเสมหะ
  12. ช่วยแก้ไอ หรืออาการไอที่มีเลือดปนออกมา ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการลงได้ดีในระดับหนึ่ง
  13. ช่วยบรรเทาอาการต่อมทอนซิลอักเสบ
  14. ช่วยบรรเทาอาการเสียบแหบแห้ง
  15. ช่วยลดอาการเหงือกบวม
  16. ใช้เป็นยาบ้วนปาก ด้วยการใช้น้ำมะนาว 3-4 หยด ก็จะทำให้ช่องปากสะอาดมากยิ่งขึ้น
  17. ช่วยแก้ลิ้นเป็นฝ้า ด้วยการใช้สำลีชุบน้ำมะนาวเช็ดที่ลิ้นวันละ 2-3 ครั้ง
  18. ช่วยในการขจัดคราบบุหรี่
  19. แก้เล็บขบ ด้วยการนำมะนาวมาผ่าส่วนหัวแล้วคว้านเอาเนื้อข้างในออกเล็กน้อย แล้วใช้ปูนทาบาง ๆ แล้วเอานิ้วสอดเข้าไป
  20. ก้างติดคอ ให้นำน้ํามะนาว 1 ลูกมาคั้นแล้เติมเกลือ ใส่น้ำตาลเล็กน้อยแล้วกรอกลงไปให้ตรงกับบริเวณที่ก้างติดคอ อมไว้สักครู่แล้วค่อย ๆกลืน ก้างปลาจะอ่อน ตัวลงแล้วหลุดลงไปในกระเพาะ
  21. ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง แน่นท้อง ด้วยการนำน้ำมะนาวมาใช้กินกับน้ำตาล
  22. แก้อาการท้องร่วง ด้วยการดื่มน้ำมะนาว
  23. ช่วยการขับพยาธิไส้เดือน ด้วยการดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว
  24. ช่วยรักษาอาการท้องผูก ด้วยการดื่มน้ำมะนาวผสมเกลือเล็กน้อย ก็เป็นยาระบายชั้นดี
  25. ช่วยรักษาโรคกระเพาะ ด้วยการนำเปลือกมะนาวมาชงกับน้ำอุ่น และดื่มเป็นยา
  26. แก้อาการบิด ด้วยการใช้มะนาวกับน้ำผึ้งอย่างละเท่า ๆกัน แล้วนำมาดื่ม
  27. แก้อาการปัสสาวะกระปริบกระปอย ด้วยการใช้ใบนะนาวสดต้มกับน้ำตาลแดง แล้วน้ำมาดื่ม
  28. สรรพคุณของมะนาวก็ช่วยรักษาโรคนิ่วได้เหมือนกัน
  29. แก้อาการระดูขาว ด้วยการดื่มน้ำมะนาวผสมเกลือกับน้ำตาลนิดหน่อย
  30. แก้ผิดสำแลง นำรากมะนาวมาฝนกับน้ำซาวข้าวแล้วนำมารับประทาน
  31. ช่วยฟอกโลหิต ด้วยการนำใบมะนาวต้มผสมกับน้ำแล้วนำมาดื่มเป็นประจำ
  32. ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคโลหิตจาง ด้วยการนำน้ำมะนาวผสมกับน้ำหวานและปรุงด้วยเกลือทะเลพอสมควร ใส่น้ำแข็งนำมาดื่ม
  33. แก้โรคเหน็บชา ร้อนในกระหายน้ำด้วยการดื่มน้ำมะนาว
  34. ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลียด้วยการดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำตาล
  35. การดื่มน้ำมะนาวจะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อได้อีกด้วย
  36. รักษาโรคผิวหนัง ด้วยการนำน้ำมะนาวมาทาบริเวณที่เป็น
  37. บรรเทาอาการคันบริเวณผิวหนัง
  38. แก้สังคัง ใช้มะนาวผ่าซีกแล้วนำมาทาบริเวณดังกล่าว เป็นประจำก่อนเข้านอนแล้วหลังตื่นนอน
  39. แก้ปัญหา กาก เกลื้อน หิด ด้วยการนำกำมะถันมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมะนาว แล้วนำมาทาบริเวณดังกล่าวหลังอาบน้ำ
  40. แก้หูด ด้วยการใช้เปลือกมะนาวนำมาหมักกับน้ำส้มสายชูประมาณ 2 วันแล้วนำเปลือกมาปิดทับบริเวณที่เป็นหูด
  41. แก้ฝีและอาการปวดฝี โดยใช้รากมะนาวสดมาฝนกับเหล้าและนำมาทา ขูดเอาผิวมะนาวผสมกับปูนแดงปิดไว้
  42. แก้ฝีมะตอย ด้วยการนำมะนาวทั้งลูก มาคว้านไส้ด้านในออกให้พอเอานิ้วแหย่เข้าไปได้ แล้วนำมาปูนกินหมากทาเข้าไปในลูกมะนาวเล็กน้อย แล้วสวมนิ้วเข้า ไป
  43. รักษาโรคน้ำกัดเท้า หรือปูนซีเมนต์กัดเท้าด้วยการใช้น้ำมะนาวทาบริเวณดังกล่าว ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วล้างออก
  44. แก้ผิวหนังฟกช้ำ หัวโน อาการปวดบวม ปูดแดง ด้วยนำน้ำมะนาวกับดินสอพองมาผสมให้เข้ากัน แล้วทาบริเวณดังกล่าววันละ 1-2 ครั้ง
  45. แก้แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก พุพองแสบร้อน ด้วยการใช้น้ำมะนาวชโลมบริเวณดังกล่าว
  46. แก้แผลบาดทะยัก ด้วยการใช้น้ำมะนาวมาทาบริเวณที่เกิดบาดแผล
  47. ช่วยลดเลือนรอยแผลเป็น ด้วยการใช้น้ำมะนาวผสมดินสอพองให้เข้ากัน แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นรอยแผล
  48. ช่วยบรรเทาอาการคันหนังศีรษะ ด้วยการใช้น้ำมะนาวนวดศีรษะให้ทั่วแล้วค่อยสระผม
  49. น้ำมะนาวช่วยดับกลิ่นเต่าหรือกลิ่นกายได้เหมือนกัน โดยนำน้ำมะนาวมาทาบริเวณรักแร้
  50. แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย และช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด
  51. แก้พิษจากการโดนงูกัด
  52. ป้องกันภัยจากงู ด้วยการใช้เปลือกวางไว้บริเวณใกล้ที่นอน ๆ งูจะไม่มารบกวนเพราะได้กลิ่นมะนาว
  53. แก้แมงคาเรืองเข้าหู ด้วยการใช้น้ำมะนาวหยอดหู
  54. หุงข้าวให้ขาวและอร่อยขึ้น ด้วยการนำน้ำมะนาวประมาณ 2-3 ช้อนแล้วนำไปซาวข้าว
  55. ทอดไขให้ฟูและนิ่ม มะนาว 4-5 หยดจะช่วยได้
  56. มะนาวช่วยลดกลิ่นคาวจากปลาเมื่อทำอาหาร และทำให้ปลาคงรูปไม่เละ
  57. สำหรับแม่ครัวที่หั่นหรือเด็ดผักเป็นประจำ จะทำให้เล็บมือเป็นสีดำ นำมะนาวมาถูจะช่วยปัญหาดังกล่าวได้
  58. หากใช้มีดผ่าปลีกกล้วย มีดจะมีสีม่วงคล่ำ ล้างออกลำบาก นำมานาวที่ผ่าแล้วมาถูกตามใบมีดจะช่วยมีดของคุณสะอาดดังเดิม
  59. การเชื่อมกล้วยหักมุมให้น่ารับประทาน เมื่อน้ำตาลเดือดเป็นยางมะตูมแล้ว ให้บีบมะนาวครึ่งซึกลงไป จะช่วยให้กล้วยใสน่าทานมากยิ่งขึ้น
  60. มะนาว 2-3 ลูกใส่ไว้ในถังข้าวสารช่วยป้องกันมอดได้
  61. เปลือกมะนาวสามารถนำมาเช็ดภาชนะให้เงางามขึ้นได้ เช่น เครื่องเงิน ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้น

ที่มา  http://frynn.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7/



สรรพคุณของตะไคร้



  1. มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ
  2. เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้)
  3. มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร
  4. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)
  5. สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคเมะเร็งลำไส้ใหญ่
  6. แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ
  7. ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)
  8. ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก)
  9. น้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้ สามารถบรรเทาอาการปวดได้
  10. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  11. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบสด)
  12. ใช้เป็นยาแก้อาเจียน หากนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ (หัวตะไคร้)
  13. ช่่วยแก้อาการกษัยเส้นและแก้ลมใบ (หัวตะไคร้)
  14. รักษาโรคหอบหืด ด้วยการใช้ต้นตะไคร้
  15. ช่วยแก้อาการเสียดแน่นแสบบริเวณหน้าอก (ราก)
  16. ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องและอาการท้องเสีย (ราก)
  17. ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดท้อง
  18. ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (หัวตะไคร้)
  19. ช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยในการย่อยอาหาร
  20. น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ มีส่วนช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ได้
  21. มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ
  22. ช่วยแก้อาการปัสสาวะพิการ และรักษาโรคนิ่ว (หัวตะไคร้)
  23. ช่วยแก้อาการขัดเบา (หัวตะไคร้)
  24. ใช้เป็นยาแก้ขับลม (ต้น)
  25. ช่วยรักษาอหิวาตกโรค
  26. ช่วยแก้ลมอัมพาต (หัวตะไคร้)
  27. ใช้เป็นยารักษาเกลื้อน (หัวตะไคร้)
  28. น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สามารถช่วยต่อต้านเชื้อราบนผิวหนังได้เป็นอย่างดี
  29. ช่วยแก้โรคหนองใน หากนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ

ที่มา http://frynn.com/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89/
สรรพคุณของใบเตย



  1. ใบเตยหอม สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ (น้ำใบเตย)
  2. การดื่มน้ำใบเตยจะช่วยดับกระหายคลายร้อนได้เป็นอย่างดี เพราะใบเตยมีกลิ่นหอมเย็นทานแล้วจึงรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย
  3. รสหวานเย็นของใบเตย ช่วยชูกำลังได้
  4. การดื่มน้ำใบเตยช่วยแก้อาการอ่อนเพลียของร่างกายได้
  5. ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
  6. ผู้ที่มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุไฟนั้นการรับประทานอาหารที่ปรุงจากใบเตยจะช่วยทำให้รู้สึกเย็นสบายสดชื่นได้
  7. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งตามตำรับยาไทยได้มีการนำใบเตยหอม 32 ใบ, ใบของต้นสัก 9 ใบ นำมาหั่นตากแดด แล้วนำมาชงเป็นชาดื่มอย่างน้อย 1 เดือน หรือจะใช้รากประมาณ 1 กำมือนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าเย็นก็ได้เหมือนกัน (ใบ,ราก)
  8. ช่วยลดความดันโลหิต (สารสกัดน้ำจากใบเตย)
  9. ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
  10. ใบเตย สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการอาการและดับพิษไข้ได้
  11. ใบเตยช่วยดับพิษร้อนภายในได้เป็นอย่างดี
  12. ประโยชน์ของใบเตยใช้รักษาโรคหืด (ใบ)
  13. สรรพคุณใบเตยใช้เป็นยาแก้กระษัย (ต้น,ราก)
  14. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ด้วยการใช้ต้น 1 ต้นหรือจะใช้รากครึ่งกำมือก็ได้ นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ราก,ต้น)
  15. สรรพคุณของใบเตยใช้รักษาโรคหัดได้
  16. ใบเตยสดนำมาตำใช้พอกรักษาโรคผิวหนังได้
  17. ประโยชน์ใบเตย มีการนำใบเตยมาใช้แต่งกลิ่นอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นของหวานต่าง ๆ อย่าง ขนมลอดช่อง ขนมชั้น รวมไปถึงเค้กและสลัด เป็นต้น
  18. มีการนำใบเตยมาทุบพอแตก นำไปใส่ก้นลังถึงสำหรับนึ่งขนม จะทำให้ขนมที่สุกแล้วมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมาก
  19. ใช้ใบเตยลองก้นหวดสำหรับนึ่งข้าวเหนียว เมื่อข้าวสุกแล้วจะทำให้มีกลิ่นหอมมาก
  20. สีเขียวของใบเตยเป็นสีของ คลอโรฟิลล์ สามารถนำมาใช้แต่งสีขนมได้
  21. ใช้ใบเตยสดใส่ลงไปในน้ำมันที่ใช้แล้ว แล้วตั้งไฟให้ร้อนแล้วค่อยตักใบเตยขึ้น จะทำให้น้ำมันไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ทำให้น้ำมันที่ใช้ทอดมีกลิ่นเหมือนน้ำมันใหม่ใบสามารถใช้ไล่แมลงสาบได้
  22. ประโยชน์ของใบเตยกับการนำมาใช้ทำเป็นทรีทเม้นท์สูตรบำรุงผิวหน้า ด้วยการใช้ใบเตยล้างสะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาปั่นรวมกับน้ำสะอาดจนละเอียด จะได้ครีมข้นเหนียวแล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที

ที่มา  http://frynn.com/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A2/


สรรพคุณของอัญชัน





  1. น้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
  2. เครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย
  3. มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย
  4. ประโยชน์ของดอกอัญชัน มีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด
  5. ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด
  6. ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบ
  7. ช่วยรักษาอาการผมร่วง (ดอก)
  8. อัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกเดาเงางามยิ่งขึ้น (น้ำคั้นจากดอก)
  9. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
  10. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
  11. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
  12. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
  13. อัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย
  14. ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ (น้ำคั้นจากดอกสดและใบสด)
  15. ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตามเสื่อมจากโรคเบาหวาน (ดอก)
  16. ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
  17. นำรากไปถูกับน้ำฝน นำมาใช้หยอดตาและหู (ราก)
  18. นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟัน และทำให้ฟันแข็งแรง (ราก)
  19. ใช้เป็นยาระบาย แต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ (เมล็ด)
  20. ใช้รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก,ใบ)
  21. แก้อาการปัสสาวะพิการ
  22. สรรพคุณอัญชันใช้แก้อาการฟกช้ำ (ดอก)
  23. ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า
  24. นำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำอัญชันเพื่อใช้ดับกระหาย
  25. ดอกอัญชันตากแห้งสามารถนำมาชงดื่มแทนน้ำชาได้เหมือนกัน
  26. ดอกอัญชันนำมารับประทานเป็นผักก็ได้ เช่น นำมาจิ้มน้ำพริกสด ๆ หรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้
  27. น้ำดอกอัญชันนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหารโดยให้สีม่วง เช่น ขนมดอกอัญชัน ข้าวดอกอัญชัน (ดอก)
  28. ช่วยปลูกผมทำให้ผมดกดำขึ้น (ดอก)
  29. ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง ครีมนวดผม ยาสระผม เป็นต้น
  30. ประโยชน์ของอัญชันข้อสุดท้ายคือนิยมนำมาปลูกไว้ตามรั้วบ้านเพื่อความสวยงาม

ที่มา  http://frynn.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99/


สรรพคุณของกระเจี๊ยบ


  1. กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลือที่ผล ใช้เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และในการช่วยลดน้ำหนัก โดยมีการทดลองกับกระต่ายที่มีไขมันสูง แล้วพบว่าระดับไครกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และระดับไขมันเลว (LDL) ลดลง และมีปริมาณของไขมันชนิดดี (HDL) เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความรุนแรงของการอุดตันหลอดเลือดแดงใหญ่จากหัวใจก็น้อยลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบแดงอีกด้วย (ผล,เมล็ด,น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  2. สรรพคุณของดอกกระเจี๊ยบแดง ช่วยละลายไขมันในเส้นเลือด (ดอก)
  3. เมล็ด ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง (เมล็ด,น้ำกระเจี๊ยบแดง,ยอดและใบ)
  4. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  5. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  6. ช่วยลดความดันโลหิต โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด โดยมีรายงานการวิจัยทางคลินิกพบว่าในวันที่ 12 หลังผู้ป่วยได้รับชาชงกระเจี๊ยบแดงทุกวัน ค่าความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัวและคลายตัวลดลง 11.2% และ 10.7% ตามลำดับเมื่อเทียบกับวันแรก และ 3 วันหลังจากหยุดดื่มชาชงความความดันโลหิตทั้งสองค่าก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  7. สรรพคุณกระเจี๊ยบแดง เมล็ดช่วยบำรุงโลหิต (เมล็ด)
  8. ช่วยแก้เส้นเลือดตีบตัน ช่วยรักษาเส้นเลือดให้แข็งแรงและอ่อนนิ่มยืดหยุ่นได้ดี (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  9. น้ำกระเจี๊ยบช่วยทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  10. สรรพคุณของดอกกระเจี๊ยบแดง ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  11. ในอียิปต์มีการใช้ทั้งต้นของกระเจี๊ยบแดงนำมาต้มกินเพื่อเป็นยารักษาโรคหัวใจและโรคประสาท (ทั้งต้น)
  12. ช่วยแก้อาการคอแห้ง กระหายน้ำ (น้ำกระเจี๊ยบแดง,ผล)
  13. น้ำกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยแก้อาการร้อนใน (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  14. ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  15. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันหวัด เนื่องจากกระเจี๊ยบแดงมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารสีแดงในกลุ่มเดียวกับที่พบในผลไม้อย่างบลูเบอร์รี่ แต่กระเจี๊ยบแดงจะมีสารชนิดนี้มากกว่าบลูเบอร์รี่ถึง 50%
  16. กระเจี๊ยบแดง สรรพคุณช่วยลดไข้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  17. ดอกกระเจี๊ยบแดง สรรพคุณช่วยแก้อาการไอ (น้ำกระเจี๊ยบแดง,ใบ)
  18. ใบ ใช้เป็นยากัดเสมหะ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก (ใบ,ดอก)
  19. ช่วยรักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีในปริมาณที่สูงอยู่พอสมควร (น้ำกระเจี๊ยบ)
  20. ช่วยในการย่อยอาหาร ใช้เป็นยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น (น้ำกระเจี๊ยบ,เมล็ด,ยอดและใบ)
  21. ในอียิปต์ มีการใช้ทั้งต้นนำมาต้นกินเป็นยาลดน้ำหนักเนื่องจากเป็นยาระบาย และยังช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้ได้อีกด้วย (ทั้งต้น)
  22. ช่วยรักษาโรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผง ใช้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วดื่มน้ำตามวันละ 3-4 ครั้ง (ผล)
  23. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (ผล)
  24. ใบกระเจี๊ยบแดง สรรพคุณช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด หรือจะใช้ผลอ่อนนำต้มรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน หรือจะใช้ร่วมกับผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ หรือจะใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มกับน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟจนงวดให้เหลือ 1 ส่วน แล้วผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง ใช้รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่า ๆ ก็ได้จนจนหมดน้ำยา (ใบ,ผล,ทั้งต้น)
  25. น้ำกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันได้อีกทางหนึ่ง โดยมีรายงานวิจัยทางคลินิกว่า เมื่อให้ผู้ป่วยดื่มผงกระเจี๊ยบขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน พบว่าได้ผลดีในการขับปัสสาวะ (น้ำกระเจี๊ยบแดง,เมล็ด,ยอดและใบ)
  26. ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ลดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบมีอาการปวดแสบ โดยใช้กระเจี๊ยบแห้งบดเป็นผงประมาณ 3 กรัม นำมาชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย ใช้ดื่มวันละ 3 ครั้ง ประมาณ 7 วัน หรือจนกว่าจะหาย ซึ่งจากรายงานการวิจับพบว่าผู้ป่วยที่ดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงขนาด 3 กรัม ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าผู้ป่วยกว่า 80% มีปัสสาวะที่ใสขึ้นกว่าเดิม และยังพบว่าปัสสาวะมีความกรดมากขึ้น จึงช่วยในการฆ่าเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้เป็นอย่างดี (น้ำกระเจี๊ยบแดง,เมล็ด)
  27. ช่วยแก้อาการขัดเบา โดยใช้กลีบเลี้ยงของผลหรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง นำมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง นำมาใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (ประมาณ 3 กรัม) ใช้ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (ประมาณ 250 มิลลิลิตร) แล้วนำมาเฉพาะน้ำสีแดงใส วันละ 3 ครั้ง ดื่มติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้นและหายไป (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  28. ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมากโต (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  29. ช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ และช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลาย (น้ำกระเจี๊ยบแดง,เมล็ด)
  30. สรรพคุณดอกกระเจี๊ยบแดง ช่วยรักษาไตพิการ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  31. กระเจี๊ยบแดง สรรพคุณทางยาเมล็ดช่วยแก้ดีพิการ (เมล็ด)
  32. กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ต้านการเกิดพิษต่อตับ และช่วยป้องกันตับจากการถูกทำลายจากสารพิษ โดยมีงานวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่าสารสกัดด้วยน้ำ (Anthocyanins) และสาร Protocatechuic Acid ของกระเจี๊ยบแดง สามารถช่วยลดความเป็นพิษต่อตับจากสารพิษได้หลายชนิด (น้ำกระเจี๊ยบแดง)
  33. ใบใช้ตำพอกฝี หรือใช้ต้มน้ำเพื่อใช้ล้างแผลได้ (ใบ)
  34. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระเจี๊ยบแดง ช่วยลดอาการบวม ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อราอะฟลาท็อกซิน ไวรัสเริม ยับยั้งเนื้องอก ช่วยขับกรดยูริก คล้ายกล้ามเนื้อเรียบ และลดความเจ็บปวด
  35. สารสกัดจากลีบดอกของกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสตรีวัยทองไม่มากก็น้อย (กลีบดอก)
  36. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โดยสารแอนโทไซยานินจากกระเจี๊ยบมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งออกซิเดชั่นของไขมันเลส และยับยั้งกายตายของมาโครฟาจ โดยมีสาร Dp3-Sam ซึ่งเป็นแอนโทไซยานินชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในห้องทดลองได้ จึงมีผลในการช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและอาจช่วยชะลอการลุกลามของมะเร็งบางชนิดได้ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)

ที่มา  http://frynn.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%8A%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87/

สรรพคุณของกระชาย


  1. กระชาย สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ
  2. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
  3. กระชายเหลือง สรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน แน่นหน้าอก
  4. ช่วยบำรุงกำลัง เสริมสมรรถภาพทางเพศ บำบัดโรคนกเขาไม่ขัน หรือโรคอีดี (Erectile Dysfunctional หรือ ED) (เหง้าใต้ดิน)
  5. ช่วยบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้เหง้าและรากของกระชายนำมาปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาหั่นตากแห้งแล้วบดจนเป็นผง และให้ใช้ผงแห้งที่เตรียมไว้ประมาณ 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำร้อนครึ่งถ้วยชา แล้วรับประทานเพียงครั้งเดียว (เหง้า,ราก)
  6. ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยทำให้กระดูกไม่เปราะบาง
  7. ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย
  8. ช่วยบำรุงกำหนัด แก้อาการกามตายด้าน (เหง้าใต้ดิน)
  9. ช่วยบำรุงสมอง เพราะช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางได้ดีมากขึ้น
  10. ช่วยปรับสมดุลของความดันโลหิตในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิตเมื่อความดันโลหิตสูง แต่เมื่อความดันโลหิตต่ำก็จะช่วยทำให้ความดันเพิ่มขึ้นจนเป็นปกติ
  11. สรรพคุณกระชายช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ (ใบ)
  12. กระชาย สรรพคุณทางยาช่วยแก้โรคในปากและคอ เช่น ปากเปื่อย ปากแห้ง ปากเป็นแผล (ใบ,เหง้า)
  13. ช่วยแก้ฝ้าขาวในปาก ด้วยการใช้กระชายที่ล้างสะอาดนำมาบดแบบไม่ต้องปอกเปลือก แล้วใส่ในโถปั่นปั่นพอหยาบ แล้วนำมาใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น แล้วนำมากินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนชาเล็ก กินวันละ 3 มื้อก่อนอาหารประมาณ 15 นาทีสักประมาณ 1 อาทิตย์ (ราก)
  14. เหง้าใต้ดิน มีรสเผ็ดร้อนและขม มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดท้อง มวนในท้อง อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ด้วยการใช้เหง้าและรากประมาณครึ่งกำมือ ถ้าสดให้ใช้ประมาณ 5-10 กรัม แต่ถ้าเป็นแห้งให้ใช้ประมาณ 3-5 กรัม แล้วนำมาต้มเอาน้ำดื่มแก้อการ หรือจะนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารไว้รับประทานก็ได้เช่นกัน (เหง้าใต้ดิน)
  15. ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน ด้วยการใช้เหง้าสด 1-2 เหง้า ใช้เหง้าที่ปิ้งไฟแล้วนำมาฝนหรือตำผสมกับน้ำปูนใส หรือจะคั้นให้ข้น ๆ แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชาก็ได้ (เหง้า,ราก)
  16. ช่วยแก้บิด โดยใช้เหง้าสดประมาณ 2 เหง้า นำมาบดจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม (เหง้าสด)
  17. ช่วยรักษาอาการท้องเดินในเด็ก (เหง้า,ราก)
  18. รากกระชาย สรรพคุณช่วยแก้โรคกระเพาะ (ราก)
  19. ช่วยแก้อาการบิดมูกเลือด (เหง้า,ราก)
  20. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะพิการ (เหง้า,ราก)
  21. ช่วยบำรุงตับและไตให้แข็งแรง ช่วยรักษาโรคไต ช่วยทำให้ไตทำงานได้ดียิ่งขึ้น
  22. ช่วยป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ
  23. ช่วยรักษาอาการกระเพาะปัสสาวะเกร็ง ซึ่งในกรณีนี้อาจจะต้องใช้เม็ดบัว ที่ต้มแล้วนำมารับประทานร่วมด้วย
  24. ช่วยแก้อาการไส้เลื่อนในเพศชาย
  25. ช่วยควบคุมไม่ให้ต่อมลูกหมากโต
  26. ช่วยบำรุงมดลูกของสตรี ป้องกันไม่ให้มดลูกโต
  27. แก้อาการตกขาว ช่วยขับระดูขาวของสตรี (เหง้า)
  28. ช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรีหลังคลอดบุตร
  29. ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เหง้าสดประมาณ 60 กรัม (6-8 เหง้า) นำมาผสมกับเนื้อมะขามเปียกประมาณ 60 กรัม เกลือแกง 3 ช้อนแกง และนำมาตำแล้วต้มกับน้ำ 6 แก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 2 แก้ว นำมารับประทานครั้งละครึ่งแก้วก่อนนอน แล้วรับประทานติดต่อกันประมาณ 1 เดือนจนกว่าจะหาย (เหง้าใต้ดิน)
  30. ใบช่วยถอนพิษต่าง ๆ (ใบ)
  31. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ด้วยการใช้เหง้าหรือรากแก่ ๆ นำมาหั่นเป็นแว่นบาง ๆ แล้วนำไปตากแห้งและนำมาชงกับน้ำดื่ม (ราก,เหง้า)
  32. ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง
  33. เหง้าและรากใช้เป็นยาภายนอก สรรพคุณช่วยรักษาขี้กลาก ขี้เกลื้อน (เหง้า,ราก)
  34. ช่วยรักษาโรคน้ำกัดเท้า ด้วยการใช้รากกระชายทั้งเปลือกมาล้างแล้วผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น ๆ และนำไปบดให้เป็นผงหยาบ ๆ และใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวมาอุ่นในหม้อใบเล็ก ๆ เติมผงกระชายใช้น้ำมัน 3 เท่าของปริมาณกระชาย แล้วนำมาหุงด้วยไฟอ่อน ๆ ราว 15-20 นาที แล้วกรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชานำมาใช้ทาบริเวณที่เป็น (ราก)
  35. ช่วยแก้อาการคันหนังศีรษะจากเชื้อรา ด้วยการใช้น้ำมันดังกล่าว (จากสูตรรักษาโรคน้ำกัดเท้า) นำมาเข้าสูตรทำเป็นแชมพูสระผม หรือจะใช้น้ำมันกระชายโกรกผมแล้วนวดให้เข้าหนังศีรษะก็ได้ แล้วค่อยล้างออก (น้ำมันกระชาย)
  36. ช่วยรักษาฝีด้วยการใช้เหง้ากับรากมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาทาหัวฝีที่บวมจะทำให้หายเร็วยิ่งขึ้น (เหง้า,ราก)
  37. เหง้ามีฤทธิ์ในการช่วยต้านเชื้อรา ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคผิวหนังและโรคในช่องปากดีพอสมควร (เหง้า)
  38. กระชายมีสารที่ออกฤทธิ์ช่วยต้านการก่อกลายพันธุ์ โดยการบริโภครากกระชายสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้
  39. กระชายมีสารที่ออกฤทธิ์ทำให้อนุมูลอิสระเป็นกลาง จึงมีผลช่วยลดความเสียหายของการเกิดอนุมูลอิสระภายในร่างกายได้
  40. กระชายมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ การบริโภคกระชายเป็นประจำอาจได้ผลคล้ายกับการกินยาแอสไพรินและอาจะช่วยป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกายได้
  41. งานวิจับจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ศึกษาพบว่าสารสกัดจากกระชายสามารถช่วยต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหลอดทดลองได้ และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
  42. งานวิจัยในประเทศกานาพบว่าสาร Pinostrobin จากรากและใบมีฤทธิ์ช่วยต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมาลาเรีย
  43. งานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มและเมทานอลจากรากของกระชายมีฤทธิ์ในการต้านการเจริญเติบโตของเชื้อ Giardia intestinalis ซึ่งเป็นพยาธิเซลล์เดียวในลำไส้ ที่ก่อให้เกิดภาวะท้องเสีย ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  44. งานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่าสาร Pinostrobin, Pinocembrin, Panduratin A และ Alpinetin ของกระชายนั้นมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้หลายชนิด

ที่มา  http://frynn.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2/